วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

อารหารกับหน้าร้อน

เลือกรับประทานอาหารและน้ำดื่มหน้าร้อน


กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เตือนประชาชนเลือกบริโภคอาหารในฤดูร้อน เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของเชื้อโรคในอาหารมากกว่า
ฤดูอื่นๆ ทำให้อาหารเกิดการเน่าเสียง่าย หากไม่ระวังอาจท้องเสียหรืออุจจาระร่วงอย่างรุนแรง
ในช่วงหน้าร้อนของทุกปี มักจะมีการแพร่ระบาดของโรคในระบบทางเดินอาหารมากกว่าช่วงอื่นๆ เนื่องจากสภาพภูมิอากาศมีความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรคซึ่งปนเปื้อนอยู่ในอาหาร ทำให้อาหารเกิดการเน่าเสียได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็น อาหารสด อาหารที่ต้องแช่เย็น และอาหารปรุงสุกที่มีส่วนผสมของกะทิ เช่น ข้าวราดแกง ขนมหวาน เป็นต้น อาหารเหล่านี้เมื่อมีการบูดเสียจะสังเกตได้จากลักษณะของอาหารจะ เปลี่ยนไป เช่น เกิดเป็นฟอง มีสีซีดลง มีเมือก มีกลิ่นเปลี่ยนจากเดิม มีรสเปรี้ยว ในบางครั้งถ้าเป็นของเหลวอาจจะพบการจับตัวเป็นลิ่มหรือตกตะกอน หากผู้บริโภครับประทานเข้าไปจะเกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย หรืออุจจาระร่วงอย่างรุนแรงได้ สำหรับผลการตรวจอาหารพร้อมบริโภค โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ในช่วงเดือนตุลาคม 2548 ถึงกุมภาพันธ์ 2549 จำนวน 1,395 ตัวอย่าง พบว่า ไม่ได้เกณฑ์คุณภาพมาตรฐาน 232 ตัวอย่าง (16.6%) เป็นตัวเชื้อโรคบ่งชี้ความไม่สะอาดจำนวน 208 ตัวอย่าง (15%) และเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ จำนวน 81 ตัวอย่าง (5.8%) ที่มีปัญหามาก คือ อาหารจานเดียว เช่น ข้าวมันไก่ หมูแดง และอาหารประเภทยำ เช่น ลาบหมู ยำรวมมิตร สลัด เป็นต้น สำหรับสาเหตุการปนเปื้อนมีทั้งเกิดจากวัตถุดิบเอง และการปนเปื้อนจากอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันระหว่างของดิบและของสุก เช่น มีด เขียง เป็นต้น ในส่วนของน้ำดื่มบรรจุขวดและน้ำแข็งหลอดทำการตรวจวิเคราะห์
ทั้งหมด 530 ตัวอย่าง ตกเกณฑ์มาตรฐาน 66 ตัวอย่าง (12.4%) พบเชื้อที่บ่งชี้ความไม่สะอาดจำนวน 52 ตัวอย่าง (9.8%) และเชื้อโรคอาหารเป็นพิษจำนวน 26 ตัวอย่าง (4.9%)
ในส่วนของวิธีการเลือกซื้ออาหารเพื่อรับประทานในช่วงหน้าร้อนนี้ หากเป็นอาหารที่ปรุงเพื่อรับประทานทันทีนั้น ให้เลือกซื้ออาหารที่ปรุงเสร็จใหม่ๆ สะอาด หรือมีการอุ่นร้อนอยู่เสมอ สำหรับอาหารพร้อมปรุงหรืออาหารสำเร็จรูป ควรเลือกซื้ออาหารที่มีเลขทะเบียนอาหารและยา (อย.) ซึ่งโดยทั่วไปจะบอกวัน เดือน ปีที่หมดอายุของอาหาร ถ้าในกรณีที่ไม่มีเลขทะเบียน อย. ควรเลือกซื้ออาหารที่สดหรืออาหารแช่เย็น และควรดูก่อนว่าอาหารนั้นเก็บในที่เย็นและมีความเย็นเพียงพอหรือไม่ โดยอาจดูจากบันทึกอุณหภูมิของตู้แช่ไม่ควรสูงเกิน 10 องศาเซลเซียส หากไม่มีเครื่องวัดอุณหภูมิให้ใช้มือแตะที่อาหาร หรือดูปริมาณน้ำแข็งที่ใช้แช่อาหาร แต่ถ้าไม่มีการเก็บในที่เย็นก็ไม่ควรซื้อ
ส่วนการเลือกเนื้อสดชนิดต่างๆ ให้ดูลักษณะของเนื้อจะต้องมีสภาพที่ไม่เปลี่ยนแปลง เช่น มีสีซีดลง มีเมือก มีกลิ่นเปรี้ยว หรือเหม็นเน่า เป็นต้น
ทั้งนี้ การประกอบอาหารและการเก็บรักษาอาหารก็มีส่วนสำคัญ เพราะเป็นขั้นตอนที่อาจมีการปนเปื้อนของเชื้อโรค หรือทำให้อาหาร
เกิดการเน่าเสียได้ การเก็บอาหารต้องเก็บในอุณหภูมิที่เหมาะสมและภาชนะที่สะอาด เช่น อาหารสด หากยังไม่ใช้ประกอบอาหารในทันที
ควรล้างให้สะอาด แล้วนำมาหั่นเป็นก้อนหรือแล่เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ถุงพลาสติกหรือห่อด้วยกระดาษไข แล้วเก็บในตู้เย็นหรือช่องน้ำแข็ง
ตลอดเวลา หากจะใช้ประกอบอาหารให้นำมาละลายน้ำแข็งและประกอบอาหารในเวลาเร็วที่สุด อย่าทิ้งไว้นาน เกินไปจะทำให้อาหาร
เกิดการเน่าเสีย อุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบอาหารต้องล้างให้สะอาด เก็บในที่มิดชิดปราศจากแมลงต่างๆ ที่เป็นพาหะนำโรค และแยกอุปกรณ์ระหว่างอาหารดิบและอาหารสุก เพื่อป้องกันการปนเปื้อน เนื้อสัตว์ที่รับประทานไม่ควรเป็นชนิดที่สุกๆ ดิบๆ สำหรับผักและผลไม้
ให้เลือกส่วนที่เน่าและมีตำหนิทิ้งไปแล้วล้างให้สะอาด เก็บในถุงพลาสติกใสที่เจาะรูให้อากาศถ่ายเทได้ โดยไว้ที่ชั้นล่างสุดของตู้เย็น ไม่ควร เก็บผักและผลไม้ไว้ในที่เย็นจัด เพราะความเย็นจะทำให้ช้ำและเน่าเสียง่าย แต่หากจะใช้ รับประทานทันที ควรมีฝาชีครอบเพื่อป้องกันภัยจากแมลงวันหรือพาหะเชื้อโรคต่างๆ สำหรับอาหารที่ ปรุงสุกแล้วไม่ควรวางทิ้งไว้เกิน 2 ชั่วโมง ควรนำเข้าตู้เย็นและอุ่นร้อนก่อนรับประทาน
นอกจากนี้อุณหภูมิที่สูงขึ้น ทำให้ประชาชนรู้สึกกระหายน้ำและนิยมบริโภคน้ำแข็งกันมากขึ้น หากรับประทานน้ำและน้ำแข็งที่ไม่สะอาด มีเชื้อโรคปะปน ก็อาจทำให้เกิดอาการท้องร่วงได้เหมือนกัน จึงขอเตือนประชาชนให้บริโภคน้ำที่สะอาดหรือน้ำต้มสุก หากเป็นน้ำบรรจุขวดควรเลือกน้ำดื่มที่มีฉลากระบุชื่อน้ำดื่ม สถานที่ผลิต และเลขทะเบียน อย. ที่ชัดเจน สภาพภายนอกขวดต้องดูสะอาด ฝาปิดสนิท และไม่มีคราบเปื้อน น้ำดื่มมีลักษณะใส ไม่มีตะกอน และไม่มีสีผิดปกติ สำหรับน้ำแข็งควรเลือกบริโภคน้ำแข็งที่บรรจุในถุงพลาสติกปิดสนิท
มีเลขทะเบียน อย. หากเปิดถุงแล้วควรเก็บในภาชนะสะอาดที่มีฝาปิดมิดชิด ควรเก็บแยกไม่ให้สัมผัสกับอาหารดิบเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรค และไม่ควรใช้มือหยิบน้ำแข็งโดยตรง ที่สำคัญต้องหมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ เพราะจะช่วยลดการสะสมและปนเปื้อนของเชื้อโรคในอาหารที่สัมผัสได้


อ้างอิง

http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/secretary/Homepage/news49/april/7.html
http://images.google.co.th/imglanding?q=%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%99%E%B9%89%E0%B8%B3&imgurl=http://www.d7girls.com/blog/girl1/wp-content/uploads/2009/06/552000002485301.jpg&imgrefurl=http://www.d7girls.com/blog/girl1/%3Fcat%3D8&usg=__Tip5DUkoFdT_7daRlRR1JNRf-jk=&h=288&w=300&sz=7&hl=th&sig2=_ScCdFjeMCXTSzmIQGfAAA&itbs=1&tbnid=B1dVQ9UaYX_ncM:&tbnh=111&tbnw=116&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B7%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B3%26hl%3Dth%26sa%3DG%26gbv%3D2%26tbs%3Disch:1&ei=ohKAS6nAAtSvrAel7LHRBA&sa=G&gbv=2&tbs=isch:1&start=2#tbnid=B1dVQ9UaYX_ncM&start=6
http://www.yourhealthyguide.com/article/ad-food-1.htm
http://www.vichaiyut.co.th/jul/28_02-2547/28_02-2547_P64-66.pdf

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น